17 มีนาคม, 2025
News 5

1 ทศวรรษ [ 10 ปี ] แผ่นดินไหวใหญ่ที่จังหวัดเชียงราย คนเชียงรายไม่เคยลืม ขนาด 6.3  อาฟเตอร์ช็อก 1,285ครั้ง บ้านเรือนประชาชนเสียหายจำนวนมาก 5 พ.ค. 2557

ย้อนกลับไป เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 เวลา 18.08 น. (ตามเวลาประเทศไทย) ได้เกิดเหตุการณ์ แผ่นดินไหว จุดศูนย์กลางอยู่พื้นที่ ตำบลดงมะดะ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย  ขนาดแผ่นดินไหว6.3 ความลึก7 กิโลเมตร โดนรับรู้แรงสั่นสะเทือนทั้งจังหวัดเชียงราย และจังหวัดใกล้เคียง

แผ่นดินไหวครั้งนี้จัดว่าเป็นแผ่นดินไหวตื้น ประชาชนรู้สึกสั่นไหวได้ในหลายพื้นที่ของ ภาคเหนือโดยเฉพาะบริเวณจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน พะเยา รวมถึงจังหวัดเลย และ หนองคาย ในภาคอีสาน อาคารสูงในกรุงเทพมหานคร รู้สึกสั่นไหวหลายแห่งเนื่องจากใต้กรุงเทพ เป็นชั้นดินอ่อนซึ่งมีคุณลักษณะในการขยายแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวได้เพิ่มขึ้นถึง 3-4 เท่า

จากเหตุการณ์ครั้งนี้มีผู้เสียชีวิต 1 คน ที่จังหวัดเชียงราย บาดเจ็บมากกว่า 100 คน พบความ เสียหายเกิดขึ้นแก่บ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างเป็นจำนวนมากและเป็นบริเวณกว้างมีผลกระทบถึง7 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา น่าน แพร่ ลำปาง และกำแพงเพชร มีการเปลี่ยนแปลงของ สภาพพื้นดินต่างๆ เช่น รอยแยกของพื้นดิน หลุมยุบ และน้ำผุดขึ้นมากจากบ่อน้ำผิวดิน

เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้ ทำให้เกิดแผ่นดินไหวตามมา อาฟเตอร์ช็อก (Aftershock) กระจายตัวหลายบริเวณ ในเขต อำเภอแม่ลาว อำเภอพาน อำเภอแม่สรวย และอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ครอบคลุมพื้นที่ เป็นบริเวณกว้างตลอดแนวรอยเลื่อนพะเยา

โดยการเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ของจังหวัดเชียงรายครั้งนั้น มีการสั่นไหว อาฟเตอร์ช็อก รวมทั้งสิ้น1,285ครั้ง (รายงานครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่6 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09.00 น.) ขนาด 5.0 – 5.9 จำนวน 8 คร้ัง ขนาด 4.0 – 4.9 จำนวน 44 ครั้ง ขนาด 3.0 – 3.9 จำนวน 223 ครั้ง และ ขนาดน้อยกว่า 3.0 จำนวนมากกว่า 1,010 ครั้ง

ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มาถึงวันนี้ [5 พฤษภาคม 2567] ครบ 10 ปี ชาวจังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะชาวบ้านในพื้นที่ ที่บ้านเรือนได้รับความเสียหาย ไม่เคยลืมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยภาครัฐ เอกชน ต่างนำเอาบทเรียนที่ได้ จัดทำแผนการรับมือแผ่นดินไหว ทั้งการฝึกซ้อมอยู่เป็นประจำ ในการหนีออกจากสิ่งปลูกสร้างอย่างถูกวิธี การออกแบบที่อยู่อาศัยให้รองรับการสั่นไหว

จากข้อมูลของกรมทรัพยากรธรณีวิทยา

1. รอยเลื่อนมีพลังในจังหวัดเชียงราย

การเกิดแผ่นดินไหวในคร้ังนี้เกิดจากกลุ่มมรอยเลื่อนพะเยา ประกอบด้วยรอยเลื่อนย่อย 2 รอยเลื่อนคือ

   1.รอยเลื่อนย่อยแม่ลาว

   2.รอยเลื่อนย่อยวังเหนือ

กลุ่มรอยเลื่อนพะเยามีแนวการวางตัวแตกต่างกัน และแยกออกจากกันอย่างชัดเจน และสามารถ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยกันคือ

1.กลุ่มรอยเลื่อนพะเยา [ย่อยแม่ลาว] (ตอนเหนือ) มีการวางตัวในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ พาดผ่านอาเภอเมือง อาเภอแม่ลาว และอาเภอแม่สรวยของจังหวัดเชียงราย ในบริเวณนี้เกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กถึงขนาดปานกลาง บ่อยครั้งมากในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา

2.กลุ่มรอยเลื่อนพะเยา [ย่อยวังเหนือ] (ตอนใต้)
มีการวางตัวในแนวเกือบเหนือ-ใต้ ค่อนมาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดผ่านด้านทิศตะวันตกของ ขอบแอ่งพะเยาบริเวณเขตรอยต่อระหว่างอาเภอพาน จังหวัดเชียงราย อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง และอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ส่วนของรอยเลื่อนนี้มีความยาวประมาณ 35 กิโลเมตร มีประวัติการ เกิดแผ่นดินไหวจนทาให้เกิดความเสียหายมาก คือเหตุการณ์เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2537 มีศูนย์กลาง การเกิดแผ่นดินไหวอยู่ที่อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย มีขนาด 5.1 ตามมาตราริกเตอร์.

แชร์ข่าว